สายลมที่หวังดี - สุเมธ

Geography

Phitsanulok province covers some 10,584.5 sq. km. The riverside provincial capital is 377 km. North of Bangkok. Phitsanulok is situated on the geographical and administrative line uniting the central and northern regions. Phitsanuloke, located in Central Northern Thailand is a modern city. Ideal as a stepping stone for the Northern visitors attractions including Sukothai.
Phitsanulok was the birthplace of King Naresuan the Great of Ayuthaya (reign : 1590 - 1605), and his brother Prince Ekathosarot. Phitsanulok has long been an important center for political and strategic reasons. Phitsanulok was a major center of recruitment when Ayuthaya waged war with Burma, and was the capital of Thailand for 25 years during the 1448-1488 reign of Ayuthaya’s King Boromtrailokanat.
The climate of Phitsanulok is generally hot and humid. It borders with Uttaradit in he North, Pichit in the south, Loei and Phetchabun in the East, Kamphaeng Phet and Sukhothai in the West. Covering an area of 10,815.8 sq.km., the province is divided into 9 Amphoes : Muang , Bang Rakam , Nakhon Thai , Phrom Priram , Wat Bot - BangKrathum , Chat Trakan , Noen MaPrang , Wang Thong

City Attraction

Wat Phra Si Rattana Mahathat his monastery commonly called by the inhabitants as "Wat Yai" is the most important monastery of Phitsanulok, the home of the famous Phra Buddha Chinnarat. It is located at the foot of Naresuan Bridge on the city side of the river.The monastery was built in the reign of Phra Maha Thamma Racha I (Phraya Lithai) In 1357 A.D. It houses the Phra Buddha Chinnarat regarded as the most beautiful Buddha image in Thailand. It is cast in the attitude of subduing evil. Later, in 1631, King Ekatosarot graciously bestowed some of his gold regalia to be beaten into gold - plate and applied them to the image worth his own hands, creating its most beautiful Buddha image. There are many other beautiful and noteworthy items in the monastery compound. The mother - of - pearl inlaid wooden doors of Vihara are especially splendid, and were built by King Boromkot in 1756 as a dedication to phra Buddha Chinarat. Behind the Vihara, there is a large Prang 36 meters high, with a staircase leading up to the niche containing the Buddha relics. In front of the Prang, there is Phra Attharos, and on the 9 room Vihara slope. There remains only the newly-renovated Buddha image.
Wat Ratchaburana nad Wat Nang Phya Is located on the eastern bank of the Nan river, near Wat Phra Si Rattana Mahathat to the south. These two monasteries, assumed to be built when Phitsanulok City was ruled by King Boromtrailokanat, have linking compounds. Wat Nang Phya has temple or bot but it is known for the so-called "Phra Nang Phya" votive tablets special fine form of the 3-head nagas decorated on their eaves.
King Naresuan the Great Shrine The shrine is located in the compound of the Phitsanulok Phittayakom school, and depicts the seated king ceremoniously declaring Ayuthaya's independence from Burma. The shrine was constructed on the site of the Channdra Palace where King Naresuan was born in 1555.

Saturday, May 26, 2007

King of Sukhothai Kingdom : พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ชีวิตในเยาว์วัยของผู้สถาปนากรุงสุโขทัย อันเป็นองค์ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงพระองค์นี้ไม่เป็นที่ปรากฏชัด ณ ที่แห่งใด ในศิลาจารึก ตำนาน พงศาวดารและจดหมายเหตุต่าง ๆ ก็ไม่ได้กล่าวถึง ปฐมวัยของผู้นำคนไทยผู้นี้ไว้ที่ใด คงมีเพียงหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่งพระเถระแห่งล้านนาไทย ชื่อ พระรัตนปัญญาเถระ แต่งขึ้นเพื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๐๖๑ – ๒๐๗๑ พูดถึงอย่างย่อ ๆ ว่า “...เมื่อพระสัมมาสัมพุทธปรินิพพานแล้วได้ ๑๘๐๐ ปี จุลศักราช ๖๑๘ มีกษัตริย์องค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า โรจราช ครองราชสมบัติอยู่ในเมืองสุโขทัย ประเทศสยาม ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของชมพูทวีป...
ได้ยินว่า ที่ตำบลบ้านโค ยังมีชายคนหนึ่งรูปงาม มีกำลังมากท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่ง เห็นชายคนนั้นแล้วใคร่จะร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมายาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับนางเทพธิดาองค์นั้น เนื่องจากการร่วมสังวาสของเขาทั้งสองนั้นจึงเกิดบุตรชายคนหนึ่งและบุตรชายคนนั้นมีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายคนนั้น บุตรชายซึ่งครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัยนั้น ปรากฎพระนามในครั้งนั้นว่า โรจราชภายหลังปรากฏพระนามว่า พระเจ้าล่วง...” ศาสตราจารย์ ร.ต.ท. แสงมนวิฑูร ผู้แปลหนังสือเรื่องนี้ให้คำอธิบายว่าพระเจ้าโรจราชสมัย พ.ศ. ๑๘๐๐ นั้น คือ พ่อขุนบางกลางหาว ปฐมกษัตริย์ราชวงพระร่วง ในศิลาจารึกเรียกว่า ศรีอินทราทิตย์บ้านโค นั้นอาจเป็นบ้านโคน หรือเมืองบางคนทีในเขตจังหวัดกำแพงเพชร พระเจ้าล่วงก็คือ พระร่วง
แม้จะเป็นหลักฐานที่ค่อนข้างเลื่อนลอย ไม่ว่าระยะเวลา สถานที่หรือตัวบุคคลแต่ชินกาลมาลีปกรณ์ เขียนขึ้นหลังเหตุการณ์นั้นประมาณ ๒๐๐ ปี ซึ่งไม่ใช่ระยะเวลาที่ห่างจนเกินไปนัก จึงน่าจะมีเค้าความเป็นจริงปะปนอยู่บ้าง แม้อาจไม่ใช่ทั้งหมด พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปรากฏชัดในประวัติศาสตร์สุโขทัย หลายหลักโดยเฉพาะหลักที่ ๒ หรือหลักวัดศรีชุม กล่าวว่า ก่อนที่จะได้เป็นกษัตริย์ครองสุโขทัยนั้น ได้เป็นผู้นำคนไทยกลุ่มหนึ่งมีชื่อว่าพ่อขุนบางกลางหาว และเมื่อระหว่างปี พ.ศ. ๑๗๖๒-๑๗๘๑ ได้ร่วมมือกับพ่อขุนผาเมือง ผู้นำคนไทยที่สำคัญอีกคนหนึ่ง นำกำลังทหารเข้ายึดเมืองสุโขทัย จากขอมสบาดโขลญลำพง แล้วสถาปนาสุโขทัยเป็นอาณาจักรของคนไทย
เชื่อกันว่า อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยในรัชสมัยนี้ ทางทิศเหนือจดเมืองแพร่ทิศใต้จดนครสวรรค์ (พระบาง) ทิศตะวันตกจดเมืองตาก ทิศตะวันออกจดจังหวัดเพชรบูรณ์ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สวรรคตในปีใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด

No comments: