สายลมที่หวังดี - สุเมธ

Geography

Phitsanulok province covers some 10,584.5 sq. km. The riverside provincial capital is 377 km. North of Bangkok. Phitsanulok is situated on the geographical and administrative line uniting the central and northern regions. Phitsanuloke, located in Central Northern Thailand is a modern city. Ideal as a stepping stone for the Northern visitors attractions including Sukothai.
Phitsanulok was the birthplace of King Naresuan the Great of Ayuthaya (reign : 1590 - 1605), and his brother Prince Ekathosarot. Phitsanulok has long been an important center for political and strategic reasons. Phitsanulok was a major center of recruitment when Ayuthaya waged war with Burma, and was the capital of Thailand for 25 years during the 1448-1488 reign of Ayuthaya’s King Boromtrailokanat.
The climate of Phitsanulok is generally hot and humid. It borders with Uttaradit in he North, Pichit in the south, Loei and Phetchabun in the East, Kamphaeng Phet and Sukhothai in the West. Covering an area of 10,815.8 sq.km., the province is divided into 9 Amphoes : Muang , Bang Rakam , Nakhon Thai , Phrom Priram , Wat Bot - BangKrathum , Chat Trakan , Noen MaPrang , Wang Thong

City Attraction

Wat Phra Si Rattana Mahathat his monastery commonly called by the inhabitants as "Wat Yai" is the most important monastery of Phitsanulok, the home of the famous Phra Buddha Chinnarat. It is located at the foot of Naresuan Bridge on the city side of the river.The monastery was built in the reign of Phra Maha Thamma Racha I (Phraya Lithai) In 1357 A.D. It houses the Phra Buddha Chinnarat regarded as the most beautiful Buddha image in Thailand. It is cast in the attitude of subduing evil. Later, in 1631, King Ekatosarot graciously bestowed some of his gold regalia to be beaten into gold - plate and applied them to the image worth his own hands, creating its most beautiful Buddha image. There are many other beautiful and noteworthy items in the monastery compound. The mother - of - pearl inlaid wooden doors of Vihara are especially splendid, and were built by King Boromkot in 1756 as a dedication to phra Buddha Chinarat. Behind the Vihara, there is a large Prang 36 meters high, with a staircase leading up to the niche containing the Buddha relics. In front of the Prang, there is Phra Attharos, and on the 9 room Vihara slope. There remains only the newly-renovated Buddha image.
Wat Ratchaburana nad Wat Nang Phya Is located on the eastern bank of the Nan river, near Wat Phra Si Rattana Mahathat to the south. These two monasteries, assumed to be built when Phitsanulok City was ruled by King Boromtrailokanat, have linking compounds. Wat Nang Phya has temple or bot but it is known for the so-called "Phra Nang Phya" votive tablets special fine form of the 3-head nagas decorated on their eaves.
King Naresuan the Great Shrine The shrine is located in the compound of the Phitsanulok Phittayakom school, and depicts the seated king ceremoniously declaring Ayuthaya's independence from Burma. The shrine was constructed on the site of the Channdra Palace where King Naresuan was born in 1555.

Wednesday, May 30, 2007

หลวงพ่อทัพย์ พรหมปัญญา


หลวงพ่อทรัพย์พรหมปัญญาเกิดเมื่อปีพ.ศ.2421ที่จังหวัดสุพรรณบุรี
บิดาชื่อนายแจ้ง มารดาชื่อนางอินทร์ มีพี่น้องร่วมบิดา3คน คือ
คนที่1นายทรัพย์
คนที่2นายสิน
คนที่3นางแสง

จากคำบอกเล่ากล่าวกันว่า ครอบครัวของหลวงพ่อทรัพย์ได้อพยพกันมาจากบ้านล่าง(คนภาคเหนือเรียกคนภาคกลางหรือจังหวัดที่อยู่ใต้บ้านตัวเองว่าบ้านล่าง) บางท่านว่ามาจากจังหวัดอ่างทองบ้างและจังหวัดอยุธยาบ้าง โดยอพยพมาอาศัยอยู่ที่บ้านกำแพงดิน จังหวัดพิจิตรก่อน (คาดว่าอาศัยการเดินทางโดยทางเรือซึ่งสมัยนั้นใช้เดินทางทางน้ำสะดวกที่สุด ประกอบกับกำแพงดินมีแม่น้ำยมไหลผ่าน)

ชีวิตในวัยเด็กนั้นลำบากมาก ต้องอาศัยยุ้งข้าวของชาวบ้านหลับนอน จึงมีคนนำมาฝากไว้ที่วัดกำแพงดินจนกระทั่งได้บรรพชาเป็นสามเณร และเมื่ออายุครบบวช จึงทำการอุปสมบทที่วัดกำแพงดิน (วัดพลับ) เมื่อปี พ.ศ.2442 มีฉายาว่า "พรหมปัญญา" โดยมีพระครูชุมแสงสงคราม อุดมเขต (อู่) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดดิษฐ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์สว่าง เป็นพระอนุศาสนาจารย์ หลังจากจำพรรษาอยู่ที่วัดกำแพงดินอยู่ระยะหนึ่ง จึงได้ออกธุดงค์เพื่อศึกษาหาความรู้ โดยศึกษาพระธรรมและวิทยาคมจากเกจิอาจารย์หลายท่านด้วยกัน จนมีความรู้แตกฉานทั้งด้านพระธรรมและวิทยาคม ต่อมาได้มาจำพรรษาที่วัดพันเสา อำเภอบางระกำ 1 พรรษา หลังจากนั้นจึงมาอยู่ที่วัดปลักแรดตลอดเรื่อยมา

ในขณะที่อยู่วัดปลักแรดนั้น ประชาชนทั่วไปเรียกท่านว่า "หลวงพ่อทรัพย์ พรหมปัญญา" ท่านได้ก่อสร้างและบูรณะถาวรวัตถุภายในวัด จนวัดปลักแรดมีความเจริญทางด้านถาวรวัตถุ นอกจากนั้นท่านยังเผยแพร่พระธรรมตามที่ได้ศึกษามาแก่ประชาชน ทำให้ประชาชนชาวปลักแรดมีธรรมะอยู่ในจิตใจ จึงเป็นที่รักใคร่ของประชาชนชาวปลักแรด ความศรัทธาในองค์หลวงพ่อทรัพย์ พรหมปัญญา ได้แผ่กระจายไปทั่ว ทำให้ประชาชนในอำเภอบางระกำ อำเภอใกล้เคียง และจังหวัดใกล้เคียงรู้ถึงความเมตตา และวิทยาคมของท่าน ต่างพากันมากราบนมัสการท่านตลอดมา

จนกระทั่งในปี พ.ศ.2500 ประชาชนชาวปลักแรดซึ่งเป็นศิษย์ของท่านและผู้อุปถัมภ์ท่าน ได้ร่วมใจกันสร้างรูปหล่อท่านเท่าองค์จริงขึ้น โดยจ้างช่างมาปั้นหุ่นขี้ผึ้งรูปหล่อ แล้วนำรูปหล่อของท่านมาไว้ที่กุฏิเพื่อให้ประชาชนเคารพบูชา (รูปหล่อของท่านนั้น ท่านนั่งปลุกเสกเองตลอดไตรมาส 3 เดือน)

กาลเวลาล่วงเลยไป จนกระทั่งวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2509 หลวงพ่อทรัพย์ พรหมปัญญา อาพาธลงอย่างกระทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้เยียวยารักษาคือคุณหมออำนวย เจียมศรีพงษ์ จนถึงคืนวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2509 ก็มีเสียงบ่างเสียงชะนีร้องโหยหวนตลอดทั้งคืน จนกระทั่งรุ่งขึ้นในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2509 ท่านจึงได้มรณภาพลงด้วยอาการสงบ ยังความเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างยิ่งของชาวบ้านปลักแรดและชาวบ้านใกล้เคียง รวมศิริอายุของท่านได้ 88 ปี 67 พรรษา ในพิธีฌาปณกิจศพหลวงพ่อ ได้เกิดปรากฏการณ์เกิดขึ้นคือฝนได้ตกโปรยปรายลงมาเฉพาะบริเวณวัดเท่านั้น

อุปนิสัยของหลวงพ่อทรัพย์ พรหมปัญญา เป็นพระภิกษุที่เรียบง่าย พูดน้อย และขณะพูดท่านมักจะไม่ชอบมองหน้าใคร ท่านจะนั่งเงยหน้ามองเพดานตลอด จะอยู่ในกุฏิเป็นส่วนใหญ่ ถ้าพระลูกวัดรูปใดปฏิบัติตนไม่เหมาะสม ท่านจะใช้คำพูดสอนเพียงไม่กี่คำ แต่ให้ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง และจะไม่สอนเลยทันที ท่านจะต้องดูโอกาสที่เห็นว่าเหมาะสมจึงจะสอน

วัตถุมงคลของหลวงพ่อทรัพย์ พรหมปัญญา ส่วนใหญ่จุดประสงค์ของหลวงพ่อที่จัดสร้าง ก็เพื่อต้องการมอบให้กับผู้ที่ร่วมทำบุญกับทางวัดในการจัดสร้างศาลาการเปรียญ และถาวรวัตถุภายในวัด วัตถุมงคลของหลวงพ่อที่สร้างในยุคแรก ได้แก่ ตะกรุด ต่อมาก็เป็นรูปถ่าย เหรียญ และรูปหล่อ ตามลำดับ เหรียญและรูปหล่อของหลวงพ่อ มีการจัดสร้างกันหลายรูปแบบหลายครั้ง

พระนางพญา 2514

จัดสร้างโดย วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลกสมัยพระอาจารย์ ถนอม เขมจาโร และพระครูบวรชินรัตน์
โดยมีสมเด็จพระวันรัต (ปุ่ ปุณณสิริ) ซึ่งค่อมาเป็น สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นประธานฝ่าย
สงฆ์และทรงจุดเทียนชัย พระอาจารย์ ไสว สุมโน เป็นเจ้าพิธี พระครูวามเทพมุนี เป็นประธานฝ่ายพราหมณาจารย์ และพล
โท สำราญ แพทยกุล แม่ทัพภาพที่ 3 เป็นประธานฝ่ายฆราวาสและหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
ทำพิธีดับเทียนชัย





วัตถุประสงค์
เพื่อจัดหาจตุปัจจัยในการสร้างพระอุโบสถวัดนางพญา เพื่อเป็นสถานที่ประกอบสังฆกรรมแห่งสงฆ์ โดย

เริ่มต้นดำเนินการเมื่อวันพุธ ที่ 29 มกราคม 2512 เวลา 9 นาฬิกา 12 นาที เป็นปฐมฤกษ์ตามพระฤกษ์สร้างพระอุโบสถที่ได้
รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และได้ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกมหาจักรพรรดิ์ตราธิราชตามจารีต
ประเพณีโบราณาจารย์ เมื่อวันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2514 ในวิหารวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก

เจ้าอาวาสวัดนางพญาเล่าว่าพิธีพุทธาภิเษกในครั้งนั้นต้องเรียกว่าเป็นอภิมหาพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ ที่สุดในยุคนั้นมีสุดยอดเกจิอาจารย์จากทั่วประเทศร่วมพิธี อาทิเช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ ฉิมพลี หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ผาง หลวงปู่แหวน หลวงพ่อเกษม หลวงพ่อแพ เป็นต้น มีการถ่ายทอดเสียงออกอากาศทางสถานีวิทยุไปทั่วประเทศตลอดวัน
ตลอดคืน เริ่มตั้งแต่เวลา 06.05 น.ประกอบพิธีบวงสรวงครูบาจารย์ และอดีตเจ้าอาวาสตามด้วยพิธีถวายเครื่องสักการะบูชา
พระพุทธชินราช พิธีถวายเครื่องสักการะบูชาบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พิธีถวายเครื่องสักการะบูชาพระคุณ พระรัตนตรัย พิธีบวงสรวงเทพยดาและพิธีบวงสรวงบูชาฤกษ์ เวลา 16.00 น. สมเด็จพระวันรัต ประธานฝ่ายสงฆ์ ทรงอธิษฐานจิตจุดเทียนชัย พระคณาจารย์จากทั่วประเทศนั่งปรกรอบมณฑลพิธีภาวนาปลุกเสกตลอดเวลา เวลา 19.30 น. จุดเทียนชัยมหาพุทธาภิเษก เวลา 02.00 น. เริ่มต้นสวดคาถาพระจักรพรรดิ์ตราธิราช พระคณาจารย์นั่งปรกเจริญภาวนาปลุกเสกตลอดรุ่ง และหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมได้กระทำพิธีดับเทียนชัย ณ เวลา 06.05 น. ในครั้งนั้นวัดนางพญาได้จัด
สร้างวัตถุมงคลหลายรายการที่สำคัญ คือ พระนางพญาเนื้อดินเผาที่พบอยู่ในขณะนี้ ตามประวัติการสร้างเป็นพระนางพญา ที่ถอดพิมพ์และผสมเนื้อพระนางพญาจากกรุพระนางพญามี 2 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ (เข่าโค้ง) และ พิมพ์เล็ก (สังฆาฏิ)

โดยอัญเชิญพระฤกษ์พระราชทานประดิษฐานด้านหลังพระนางพญารุ่นนี้ทุกองค์ปั้นกดพระด้วยมือ
และใช้ใบเลื่อยตัดออกทีละองค์ๆ สันนิษฐานว่าสร้างจำนวน 84,000 องค์

Saturday, May 26, 2007

Seal of Sukhuthai Province


The provincial seal shows King Ramkhamhaeng the Great sitting on the Managkhasila Asana throne. Under King Ramkhamhaeng the kingdom of Sukhothai did flourished most.








Provincial tree is Afzelia xylocarpa










Provincial flower is the Lotus (Nymphaea lotus).

Pailyn Hotel Sukhothai



There are plenty of Hotels in Sukhothai in Thailand, since the place is a very popular tourist destination. The ancient ruins of the Old Sukhothai city draws a lot of tourists from all parts of the world. The Pailyn Hotel in Sukhothai is a good staying option which offers a very comfortable stay at a manageable budget. The place is suitable for all type of guests that include businessmen also. The hotel has got plenty of friendly and cooperative staffs, who are always available for the assistance of the guests.




Location of Pailyn Hotel in Sukhothai
The Pailyn Hotel in Sukhothai is about 4 kilometers away from the Historical Park and 8 kilometers from town center. The place can be reached from Bangkok and Chaing Mai, by availing flight or bus. The important sites of Sukhothai are easily accessible from the hotel.

Room Facilities at Pailyn Hotel in Sukhothai
The rooms of the Pailyn Hotel in Sukhothai are very well appointed. The fully carpeted rooms are provided with all the latest comfort amenities. The private bathrooms have got water bath or shower facilities, along with hot and cold running water. The rooms give beautiful view of the surrounding area.

Hotel Amenities and Services at Pailyn Hotel in Sukhothai

The Pailyn Hotel in Sukhothai provide plenty of facilities to the guests including businessmen. The hotel has got five conference rooms which are fully equipped with the latest technologies. The restaurant of the hotel serve Chinese, European as well as Thai food. The pub is the perfect place for those who love nightlife. The various other facilities of the hotel include laundry and dry cleaning, reception, car rental and parking, currency exchange, babysitting, room service which is for limited hours.

We also have five fully equipped conference rooms, ranging from a capacity of fifty to a thousand people. They are : Sukhothai, Srisatchanalai, Srinakorn, Srisamrong and Sawankalok.
Transportation to and from Airport can provided at Bht 600.- per car per trip ( maximum 7 persons ) from Sukhothai Airport and Bht. 800 from Pitsanuloke Airport.

Address
10 Jarodvithithong Road, Sukhothai 64210 Thailand

The National Historical Park : Sukhothai Province


Sukhothai, the first capital of the Thai Nation and the cradle of Thai civilization for more than 700 years, now lies as a National Historical Park, 440 kms. north of Bangkok.Magnificetly restored ruins of palaces and temples dramatically unfold to the visitors the grandeur that was Sukhontai. Here the Thai alphabet architecture, art and national culture were born and passed down through history.Sukhothai's magnificent palaces and temples were left to deteriorate and fell into runs. Restorations however have retained evidence of the outstanding and refined aesthetic sense of Thai architects of the Sukhothai period.Situated not too far from Bangkok, many attractions are easily accessible to foreigners visiting Sukhothai. It was in Sukhothai that the nation's annual festival "Loykrathong" originated. This festival is still celebrated on the period of the full moon between October and November. Foreign visitors can join both highranking officials and the citzens is this celebration.

กำเนิดลายสือไทย

กำเนิดลายสือไทย

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ลายสือไทยหรือตัวหนังสือไทยขึ้นเมื่อมหาศักราช ๑๒๐๕ (พุทธศักราช ๑๘๒๖) นับมาถึงพุทธศักราช ๒๕๒๖ ได้ ๗๐๐ ปีพอดี ในระยะเวลาดังกล่าว ชาติไทยได้สะสมความรู้ทั้งทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ และได้ถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นสืบต่อกันมา โดยอาศัยลายสือไทยของพรองค์ท่านเป็นส่วนใหญ่ ก่อนสมัยสุโขทัย ชาติไทยเคยรุ่งเรืองอยู่ที่ไหนอย่างไร ไม่มีหลักฐานยืนยันให้ทราบแน่ชัด แต่เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้นแล้ว มีศิลาจารึกและพงศาวดารเหลืออยู่เป็นหลักฐานยืนยันว่า ชาติไทยเคยรุ่งเรืองมาอย่างไรบ้าในยุคสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ในโอกาสครบรอบ ๗๐๐ ปีนี้ คนไทยทุกคนจึงควรน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านโดยพร้อมเพรียงกัน
ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีข้อความปรากฎว่า “เมื่อก่อนลานสืไทนี๋บ่มี ๑๒๐๕ สก ปีมแมพ่ขุนรามคํแหงหาใคร่ใจในใจแล่ใศ่ลายสืไทนี๋ สายสืไทนี๋ จี่งมีเพื่อขุนผู๋น๋นนใศ่ไว๋” หา แปลว่า ด้วยตนเอง (ไทยขาวยังใช้อยู่) ใคร่ในใจ แปลว่า คำนึงในใจ (จากพจนานุกรมไทยอาหม) ข้อความที่อ้างถึงแสดงว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์ตัวหนังสือไทยแบบที่จารึกไว้ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖
ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ ได้กล่าวไว้ในตำนานอักษรไทย ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ว่า คำที่ใช้ในจารึกมีคำ นี้ อยู่ต่อคำ ลายสือ ทุกแห่ง (สามแห่ง) หมายความว่า หนังสือไทยอย่างนี้ไม่มีอยู่ก่อน มิได้ประสงค์จะทรงแสดงว่า หนังสือของชนชาติไทยพึ่งมีขึ้นต่อเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ เซเดส์ ยังเห็นว่า พวกไทยน้อยซึ่งมาอยู่ทางลำน้ำยม ชั้นแรกเห็นจะใช้อักษรไทยซึ่งได้แบบมาจากมอญ (ตำนานอักษรไทย หน้า ๑ หน้า ๖ และหน้า ๑๑) ต่อมาขอมมีอำนาจปกครองสุโขทัย พวกไทยคงจะศึกษาอักษรขอมหวัดที่ใช้ในทางราชการ แล้วจึงแปลอักษรเดิมของไทยมาเป็นรูปคล้ายตัวอักษรขอมหวัด ถ้าประสงค์จะสมมติว่าอักษรไทยเดิมเป็นอย่างไร ควรจะถือเอาอักษรอาหม (ใช้ในอัสสัม) กับอักษรไทยน้อย (ใช้ในอีสานและประเทศลาว) นี้เป็นหลัก นายฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้เขียนเรื่อง “สันนิษฐานเทียบการเขียนอักษรไทยกับอักษรขอมในสมัยพ่อขุนรามคำหง” ไว้ และได้สันนิษฐานว่า อักษรพ่อขุนรามคำแหงทุกตัวดัดแปลงนาจากอักษรขอมหวัด
หนังสือจินดามณีเล่ม ๑ ของหอสมุดแห่งชาติเลขที่ 11 เป็นสมุดไทยดำ มีข้อคามเหมือนกับจินดามณีฉบับพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งนายขจร สุขพานิช ได้มาจากกรุงลอนดอน แต่คลาดเคลื่อนน้อยกว่า มีข้อความว่า “อนึ่งมีในจดหมายแต่ก่อนว่า ศกราช ๖๔๕ มแมศก พญาร่วงเจ้า ได้เมืองศรีสัชนาไลยได้แต่งหนังสือไทย แล จ ได้แต่งรูปก็ดี แต่งแม่อักษรก็ดีมิได้ว่าไวแจ้ง อนึ่งแม่หนังสือแต่ ก กา กน ฯ,ฯ ถึงเกอยเมืองขอมก็แต่งมีอยู่แล้ว เห็นว่าพญาร่วงเจ้าจะแต่งแต่รูปอักษรไทย” แท้จริงพ่อขุนรามคำแหงมิได้ทรงแต่งแต่รูปอักษรไทยเท่านั้น แต่ยังได้ทรงเปลี่ยนอักษรวิธีการเขียนภาษาไทยให้ดีขึ้นกว่าเดินอีกปลายประการ ดังจะได้กล่าวถึงต่อไปข้างหน้านี้
มีหนังสือไทยเดิมก่อนลายสือไทยหรือไม่
ผู้เขียนเคยบรรยายไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ ว่า ถ้าลายสือไทยนี้บ่อมี หมายความว่า หนังสือไทยชนิดนี้ไม่มี แต่คงจะมีหนังสือไทยแบบอื่นอยู่ก่อนแล้ว ในจารึกหลักเดียวกันนี้ได้กล่าวถึงเมืองสุโขทัย ๑๔ ครั้ง ทุกครั้งใช้คำ เมืองสุโขทัยนี้ จะตีความว่า มีเมืองสุโขทัยอยู่ก่อนแล้ว แล้วจึงมาตั้งเมืองสุโขทัยขึ้นใหม่กระนั้นหรือ ผู้เขียนเห็นว่า นี้เป็นแต่คำชี้เฉพาะ ถ้าเทียบกับภาษาอังกฤษก็คงจะตรงกับ the เท่านั้น มิได้หมายความว่า this เพราะฉะนั้น ที่ว่า ลายสือไทยนี้บ่มี คงมิได้หมายความว่ามีลายสือไทยอื่นอยู่แล้ว แต่ผู้เขียนยอมรับว่าอาจจะมีหนังสือของไทยอาหมเกิดขึ้นทางอัสสัมในเวลาใกล้เคียงกับการก่อกำเนิดตัวหนังสือในสุโขทัยก็เป็นได้ (หนังสือรวมการบรรยายเรื่องตัวอักษรไทย หน้า ๕๕)
ประวัติไทยอาหมปรากฏอยู่ในหนังสือบูราณยี คำว่า ยี อาจจะตรงกับ สือ ในลายสือ หรือรากศัพท์เดียวกับ จื่อ ซึ่งใช้อยู่ในภาคเหนือและภาคอีสาน แปลว่า จดจำ เช่นได้จื่อจำไว้ บูราณยีบอกประวัติผู้ครองราชย์มาตั้งแต่ยุคที่นิยมแต่งตำนานเป็นเทพนิยายลงมา ศักราชแรกที่กล่าวถึง คือ พ.ศ. ๑๗๓๓ ส่วนใหญ่เผ่าอื่นเริ่มมีประวัติเป็นหลักเป็นฐานไม่เก่าไปกว่ายุคไทยอาหม หากเก่ากว่านั้นขึ้นไป จะเป็นเรื่องเทพนิยายแบบพงศาวดารเหนือหรือตำนานเก่า ๆ ของเรา ซึ่งเกี่ยวกับปาฏิหาริย์เป็นส่วนมาก ประวัติศาสตจร์ไทยทุกเผ่ามาเริ่มจดเป็นหลักเป็นฐานในยุคพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนี้ ผู้เขียนจึงเห็นว่าตัวหนังสือไทยคงจะเกิดขึ้นต้นยุคสุโขทัยนี้เอง เมื่อมีตัวหนังสือใช้แล้วก็อาจจะจดเรื่องราวย้อนหลังขึ้นไปได้อีกสองสามชั่วคน
อีกประการหนึ่ง ไม่เคยมีผู้พบจารึกภาษาไทยก่อนยุคสุโขทัยขึ้นไปเลย จริงอยู่เป็นไปได้ว่า คนไทยอาจจะมีตัวอักษรอื่นใช้อยู่ก่อนแล้ว แต่เผอิญจารึกหายไปหมด หรืออาจจะเขียนไว้บนไม้ไผ่ หรือสิ่งอื่นที่ผุพังไปได้ง่ายก็เป็นได้ แต่ถ้ามีตัวอักษรอื่นอยู่ก่อนแล้ว ตัวอักษรแบบนั้นก็น่าจะปรากฏขึ้นที่ใดที่หนึ่ง เพราะดินแดนตั้งแต่อัสสัมถึงเวียดนามและจีนตอนใต้ถึงมลายูมีคนไทยอาศัยอยู่ทั่วไป ทำไมจึงไม่ปรากฏตัวอักษรแบบดังกล่าวเลย ไม่ว่าจะจารึกไว้ในรูปลักษณะใด ๆ ทั้งสิ้น
ตัวหนังสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแพร่หลายเข้าไปในล้านนา ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๖๒ วัดพระยืนว่า พระมหาสุมนเถรนำศาสนาพุทธนิกายรามัญวงศ์ หรือนิกายลังกาวงศ์เก่าเข้าไปในล้านนา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๒ และได้เขียนจารึกด้วยตัวหนังสือสุโขทัยไว้เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๔ ต่อมาตัวหนังสือสุโขทัยนี้ได้เปลี่ยนรูปร่าง และอักขรวิธีไปบ้างกลายเป็นตัวหนังสือฝักขาม และล้านนายังใช้ตัวหนังสือชนิดนี้มาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
เชียงตุงและเมืองที่ใกล้เคียงในพม่ามีศิลาจารึกอักษรฝักขาม ซึ่งดัดแปลงไปจากลายสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอยู่กว่า 10 หลัก เริ่มแต่ศิลาจารึกวัดป่าแดง พ.ศ. ๑๙๙๔ เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังมีจารึกที่เจดีย์อานันทะในพุกามเขียนด้วยตัวหนังสือสุดขทัย ประมาณ พ.ศ. ๑๙๑๐–๑๙๔๐ อยู่หลักหนึ่ง
ในประเทศลาวมีจารึกเขียนไว้ที่ผนังถ้ำนางอันใกล้หลวงพระบางด้วยตัวอักษรสุโขทัย ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวหนังสือสมัยพระเจ้าลิไทย (พ.ศ. ๑๘๙๐–๑๙๑๑)
ไทยขาว ไทยดำ ไทยแดง เจ้าไทยในตังเกี๋ย ผู้ไทยในญวน และลาวปัจจุบันนี้ยังใช้ตัวอักษรที่กลายไปจากลายสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ถ้าคนไทยมีตัวอักษรไทยเดิมอยู่แล้ว ก็คงจะไม่ยอมรับลายสือไทยเข้าไปใช้จนแพร่หลายกว้างขวางไปในหลายประเทศดังกล่าวมาแล้ว เพราะการเปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจากของที่เคยชินแล้วทำได้ยากมาก เป็นต้นว่า เราเคยเขียนคำว่า “น้ำ” บัดนี้ออกเสียเป็น “น้าม” แต่ก็มิได้เปลี่ยนวิธีเขียนให้ตรงกับเสียง
ผู้เขียนเห็นว่า ในชั้นแรกเมื่อคนไทยมิได้เป็นชนชั้นปกครอง ก็จำเป็นจะต้องเรียนตัวหนังสือที่ทางราชการบ้านเมืองใช้อยู่ เพื่ออ่านประกาศของทางราชการให้เข้าใจ ถ้าจะประดิษฐ์ตัวหนังสือขึ้นใช้เอง จะไปบังคับใครให้มาเรียนหนังสือดังกล่าว เมื่อใดคนไทยได้เป็นชนชั้นปกครองขึ้น ก็น่าจะดัดแปลงตัวหนังสือ ที่ใช้กันอยู่ในถิ่นนั้นมาเป็นตัวหนังสือของไทย เช่น คนไทยในเมืองจีนคงดัดแปลงตัวหนังสือจีนมาใช้ คนไทยในล้านนาคงจะดัดแปลงตัวหนังสือมอญซึ่งนิยมใช้กันในถิ่นนี้มาก่อน ส่วนพ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็น่าจะดัดแปลงตัวหนังสือขอมซึ่งนิยมใช้กันอยู่แถวลุ่มน้ำเจ้าพระยามาแต่เดิม หากมีตัวอักษรไทยเดิมอยู่แล้ว พ่อขุนรามคำแหงมหาราชคงจะทรงใช้ตัวอักษรไทยเดิม หรือทรงดัดแปลงจากนั้นบ้างเล็กน้อยแทนที่จะดัดแปลงจากอักษรขอมเป็นส่วนใหญ่ แท้จริงนั้นมีเค้าเงื่อนอยู่ในพงศาวดารเหนือว่าพ่อขุนรามฯ ได้ทรงอาศัยนักปราชญ์ราชบัณฑิตที่เชี่ยวชาญตัวหนังสือชาติต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงไทย ยกเว้นแต่จีนเพราะจีนใช้หลักการเขียนหนังสือเป็นรูปภาพผิดกับหลักการเขียนเป็นรูปพยัญชนะและสระแบบของไทย รูปอักษรของพ่อขุนรามคำแหงคล้ายตัวหนังสือลังกา บังคลาเทศ ขอม และเทวนาครี ฯลฯ เป็นต้นว่า ตัว จ ฉ หันหน้าไปคนละทางกับอักษรขอม แต่หันไปทางเดียวกับตัวอักษรลังกาที่มีใช้อยู่ก่อนแล้ว
สมัยพ่อขุนรามคำแหงยังไม่มีไม้หันอากาศ แต่ใช้พยัญชนะตัวเดียวกันหรือวรรคเดียวกันเขียนติดกัน เช่น อนน แทน อัน และ อฏฐ แทน อัฏฐ
พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้น โดยมิได้ทรงทราบว่ามีตัวหนังสือไทยเดิมอยู่ก่อน ข้อพิสูจน์ข้อหนังคือ ไทยอาหมและไทยคำที่ (ขำตี้) ออกเสียงคำ อัน คล้ายกับคำ อาน แต่เสียงสระสั้นกว่า และออกเสียง อัก-อาก อังอาง อัด-อาด อับ-อาบ เหมือนกับตัวหนังสือของเราโดยออกเสียงคำตนสั้นกว่าคำหลังในคู่เดียวกัน แต่ออกเสียง อัว ว่า เอา เพราะถือหลักการที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า อัว คือ อาว ที่เสียงสระสั้นลง พ่อขุนรามคำแหงทรงใช้ อวา (คืออัว) เป็นสระ อัว แทนที่จะเป็นสระ เอา หากคนไทยเคยอ่าน อัว เป็น เอา ซึ่งถูกตามหลักภาษาศาสตร์มาแต่เดิมแล้วคงยากที่จะเปลี่ยนแก้ให้อ่านเป็น อัว ซึ่งขัดกับความเคยชิน ฉะนั้นจึงน่าเชื่อว่า พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ตัวหนังสือไทยขึ้นโดยมิได้ทรงทราบว่ามีตัวหนังสือไทยเดิมอยู่ก่อนแล้ว
พ่อขุนมังรายมหาราช (เป็นพระนามที่ถูกต้องของพระยาเม็งราย) คงจะได้ดัดแปลงตัวอักษรมอญมากใช้เขียนหนังสือไทยในเวลาใกล้เคียง ดังตัวอย่างอักษรในจารึกลานทองสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๑๙
ส่วนไทยอาหมคงสร้างตัวหนังสือขึ้น ในระยะเวลาใกล้เคียงกับตัวหนังสือสุโขทัย ทั้งนี้เพราะคนไทยเริ่มจะสร้างอาณาจักรเป็นปึกแผ่นกว้างขวางออกไปในระยะนั้น อย่างไรก็ดี นักอ่านศิลาจารึกหลายท่านเชื่อว่า รูปตัวอักษรของไทยอาหมชี้ให้เห็นว่า อักษรไทยอาหมพึ่งเกิดใหม่หลังอักษรพ่อขุนรามคำแหงเป็นระยะเวลานานทีเดียว

คุณวิเศษของลายสือไทย
๑. ลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหราราชมีลักษณะพิเศษกว่าตัวอักษรของชาติอื่นซึ่งเป็นลูกศิษย์ของชาวอินเดียวกล่าวคือ ชาติอื่นขอยืมตัวหนังสือของอินเดียมาใช้โดยมิได้ประดิษฐ์พยัญชนะ และสระเพิ่มขึ้นให้พอกับเสียงพูดของคนในชาติ ยกตัวอย่างเช่น เขมรโบราณ เขียน เบก อ่านออกเสียงเป็น เบก แบก หรือ เบิก ก็ได้ ไทยใหญ่เขียน ปีน อ่านออกเสียเป็น ปีน เป็น หรือ แปน ก็ได้ เวลาอ่านจะต้องดูความหมายของประโยคก่อน จึงจะอ่านออกเสียให้ถูกต้อง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ตัวพยัญชนะสระอีกทั้งวรรณยุกต์ขึ้น เป็นต้นว่าได้เพิ่ม ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ สระอึ อือ แอ เอือ ฯลฯ ไม้เอก ไม้โท (ในรูปกากะบาท) จนทำให้สามารถเขียนคำไทยได้ทุกคำ
๒. อักขรวิธีที่ใช้ สามารถเขียน ตาก-ลม แยกออกไปจากตา-กลม ทำให้อ่านข้อความได้ถูกต้องไม่กำกวม กล่าวถือ ถ้าเป็นอักษรควบกล้ำให้เขียนติดกัน ส่วนตัวสะกดให้เขียนแยกห่างออกไป เช่น ตา-กลม เขียนเป็น ตา กลํ ส่วน ตาก-ลม เขียนเป็น ตา ก ลํ
๓. ตัวหนังสือแบบพ่อขุนรามฯ ยังมีลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ นำสระมาเรียงอยู่ระดับเดียวกับพยัญชนะแบบเดียวกับตัวหนังสือของชาติตะวันตกทั้งหลาย น่าเสียดายที่สระเหล่านั้นถูกดึงกลับไปไว้ข้างบนตัวพยัญชนะบ้าง ข้างล่างบ้างในสมัยต่อมา ทั้งนี้เพราะคนไทยเคยชินกับวิธีเขียนข้างบนข้างล่างตามแบบขอมและอินเดีย ซึ่งเป็นต้นตำหรับดั้งเดิม ถ้ายังคงเขียนสระแบบพ่อขุนรามฯ อยู่ เราจะประหยัดเงินค่ากระดาษลงได้หนึ่งในสามทีเดียว เพราะทุกวันนี้จะต้องทิ้งช่องว่างระหว่างบรรทัดไว้เพื่อเขียนส่วนล่างของ ฏ ฐ สระ อุ อู วรรณยุกต์ และสระอือ รวมเป็นช่องว่างที่ต้องเตรียมไว้สี่ส่วนให้เขียนได้ไม่ซ้อนกัน ยิ่งมาถึงยุคคอมพิวเตอร์ การเก็บข้อมูล และการค้นหาข้อมูลจะประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายได้มหาศาล แต่ตัวอักษรไทยในปัจจุบันบรรทัดเดียวคอมพิวเตอร์จะต้องกวาดผ่านตลอดบรรทัดไปถึง ๔ ครั้ง กล่าวคือ ครั้งแรกกวาดพวกวรรณยุกต์ ครั้งที่สองกวาดพวกสระบน เช่น สระอี อึ ครั้งที่สามกวาดพวกพยัญชนะและครั้งที่สี่กวาดพวกสระล่าง คือ สระ อุ อู จึงทำให้เสียเวลาเป็นสี่เท่าของตัวอักษรของอังกฤษ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จะกวาดเพียงบรรทัดละครั้งเดียว ถ้าใช้อักขรวิธีแบบของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เครื่องคอมพิวเตอร์จะกวาดเพียงบรรทัดละสองครั้ง ลดเวลาและค่าใช้จ่ายลงได้กว่าครึ่ง ถ้ายิ่งดัดแปลงให้วรรณยุกต์ไปอยู่บรรทัดเดียวกับพยัญชนะเสียด้วย ก็จะลดค่าใช้จ่ายลงได้กว่าสี่เท่า
๔. ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของตัวหนังสือพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ พยัญชนะทุกตัวเขียนเรียงอยู่บรรทัดเดียวกัน ไม่มีตัวพยัญชนะซ้อนกันเหมือนตัวหนังสือของเขมร มอญ พม่า และไทยใหญ่ เช่น เขียน อฏฐ แทนที่จะเป็น อฏฐ เซเดย์ได้กล่าวไว้ว่า การที่พระองค์ได้ทรงแก้ไขตัวอักษรของชาวสุโขทัยให้เรียงเป็นแนวเดียวกันได้นั้นเป็นการสำคัญยิ่ง แลควรที่ชาวสยามในปัจจุบันนี้ จะรู้สึกพระคุณ และมีความเคารพนับถือที่พระองค์ได้ทรงจัดแบบอักษรไทยให้สะดวดขึ้น ข้อนี้ให้มาก อนึ่ง ในสยามประเทศทุกวันนี้การคิดแบบเครื่องพิมพ์ดีดและการพิมพ์หนังสือได้เจริญรุ่งเรือง เป็นประโยชน์ยิ่งในวิชาความรู้แลทางราชการนับว่าเพราะพ่อขุนรามคำแหง ได้ทรงพระราชดำริเปลี่ยนรูปอักษรขอมและเรียงพยัญชนะเป็นแนวเดียวกันให้สะดวกไว้ ส่วนบรรดาประเทศที่ยังใช้วิธีซ้อนตัวพยัญชนะ เช่นประเทศเขมรและประเทศลาว การพิมพ์หนังสือของประเทศเหล่านั้นเป็นการยาก ไม่สู้จำเริญ แลยังไม้มีผู้ใดในชาตินั้น ๆ ได้คิดจะออกแบบพิมพ์ดีดสำหรับตัวอักษรของตน ๆ เลย (พ.ศ. ๒๔๖๘)
๕. ตัวอักษรทุกตัวสูงเท่ากัน หางจอง ศ ส ก็ขีดออกไปข้าง ๆ แทนที่จะสูงขั้นไปกว่าอักษรตัวอื่น ๆ หางของ ป และ ฝ สูงกว่าอักษรตัวอื่น ๆ เพียงนิดเดียว สระทุกตัวสูงเท่ากับพยัญชนะรวมทั้งสระ โอ ใอ และ ไอ ตัวอักษรแบบนี้เมื่อตีพิมพ์หางตัว ป และสระข้างล่าง ข้างบนจะไม่หักหายไปอย่างปัจจุบัน ไม่ต้องคอยตรวจซ่อมกันอยู่ตลอดเวลา
๖. พ่อขุนรามคำหงมหาราชทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยให้เขียนได้ง่ายและรวดเร็ว พยัญชนะแต่ละตัวต่อเป็นเส้นเดียวตลอด ในขณะที่ตัวหนังสือขอมต้องเขียนสองหรือสามเส้นต่อพยัญชนะตัวหนึ่ง
๗. ประการสุดท้าย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์รูปวรรณยุกต์ขึ้น ทำให้สามารถอ่านความหมายของคำได้ถูกต้องโดยไม่ต้องดูข้อความประกอบทั้งประโยค สมมติว่าเราเข้าใจภาษาไทยใหญ่เป็นอย่างดี แต่ถ้าจะอ่านภาษาไทยใหญ่ เขาเขียน ปีน คำเดียวอาจจะอ่านเป็น ปีน ปี่น ปี้น ปี๊น ปี๋น เป็น เป่น เป้น เป๊ เป๋น แปน แป่น แป้น แป๊น และ แป๋น รวมเป็น 15 คำ ถ้าไม่อ่านข้อความประกอบจะไม่ทราบว่าคำที่ถูกต้องเป็นคำใดกันแน่ แต่ตัวหนังสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อ่านได้เป็น ปีน แต่อย่างเดียว

King of Sukhothai Kingdom : พระมหาธรรมราชาลิไท

พระมหาธรรมราชาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่ ๑)
พระมหาธรรมราชาลิไท เป็นโอรสของพ่อขุนเลอไท และเป็นนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระราชประวัติในช่วงปฐมวัย ไม่ปรากฎ ณ ที่ใด แต่เมื่อทรงพระเจริญวัยแล้วศิลาจารึกสุโขทัยหลายหลักกล่าวถึงเรื่องราวของพระองค์แม้จะไม่สมบูรณ์แต่ก็พอทราบเรื่องราวได้ว่า พระมหากษัตริย์พระองค์นี้ได้ทรงศึกษาศิลปศาสตร์แขนงต่าง ๆ ที่ผู้ปกครองในขณะนั้นต้องเรียนต้องศึกษาได้อย่างแตกฉาน และชำนิชำนาญยิ่ง และทรงปกครองเมืองศรีสัชนาลัย ในฐานะองค์อุปราชหรือรัชทายาทเมืองสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๘๒ และขณะที่ดำรงพระราชสริยยศเป็นรัชทายาท ที่เมืองศรีสัชนาลัยนี่เอง ได้ทรงพระราชนิพนธ์ เรื่องไตรภูมิพระร่วง วรรณคดีชิ้นแรกของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๘๘ หนังสือเรื่องนี้แม้ผู้รจนาได้กล่าไว้ในบางแผนกว่า เพื่อจะเทศนาแก่พระมารดาของพระองค์ แต่เป็นประกาศนียบัตรที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถในความรอบรู้เรื่องพระพุทธศาสนาอย่างยอดเยี่ยมเป็นวิทยานิพนธ์ที่ก้าวล้ำหน้าสมบูรณ์แบบ เพราะที่มีข้ออ้างอิงที่เป็นระบบโดยทรงค้นคว้ามาจากคัมภีร์ต่าง ๆ ทางพุทธศาสนา ถึง ๓๔ เรื่อง ไตรภูมิพระร่วง นอกจากจะให้เนื้อหาสาระทางพระพุทธศาสนา อันเป้าหมายของผู้รจนาแล้ว ยังให้ความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์ รัฐศาสตร์ และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภูมิศาสตร์ของโลกที่คนไทยรู้จักกันในสมัยนั้นถือการแบ่งทวีปทั้ง ๔ อันมี ชมพูทวีป บุพวิเทหะ อุตรกุรุและกมรโคยานี
หลังจากทรงเป็นรัชทายาทครองเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ ๘ ปี จึงเสด็จมาครองสุโขทัยเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๐ โดยต้องใช้กำลังทหารเข้ามายึดอำนาจเพราะที่สุโขทัยหลังสิ้นรัชกาลพ่อขุนงัวนำถมแล้วเกิดการกบฏการสืบราชบัลลังก์ไม่เป็นไปตามครรลองครองธรรม เมื่อกลับมาครองราชสมบัติสุโขทัยแล้ว พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ คือ การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ เพราะสุโขทัยหลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้วบ้านเมืองแตกแยกแคว้นหลายแคว้นในราชอาณาจักรแยกตัวออกห่างไป ไม่อยู่ในบังคับบัญชาสุโขทัยต่อไป
พญาลิไททรงคิดจะรวบรวมให้กลับคืนดังเดิม แต่ก็ทรงทำไม่สำเร็จ นโยบายการปกครองที่ใช้ศาสนาเป็นหลักรวมความเป็นปึกแผ่นจึงเป็นนโยบายหลักในรัชสมัยนี้ ทรงสร้างเจดีย์ที่นครชุม (เมืองกำแพงเพชร) สร้างพระพุทธชินราชที่พิษณุโลก และเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๕ ทรงออกผนวช การที่ทรงออกผนวช นับว่าทำความมั่นคงให้พุทธศาสนามากขึ้น ดังกล่าวแล้วว่า หลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยก วงการสงฆ์เองก็แตกแยก แต่ละสำนักแต่ละเมืองก็ปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เมื่อผู้นำทรงมีศรัทธาแรงกล้าถึงขั้นออกบวช พสกนิกรทั้งหลายก็คล้อยตามหันมาเลื่อมใสตามแบบอย่างพระองค์ กิตติศัพท์ของพระพุทธศาสนาในสุโขทัยจึงเลื่องลือไปไกล พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่หลายรูปได้ออกไปเผยแพร่ธรรมในแคว้นต่าง ๆ เช่น อโยธยา หลวงพระบาง เมืองน่าน พระเจ้ากือนา แห่งล้านนาไทย ได้นิมนต์พระสมณะเถระไปจากสุโขทัย เพื่อเผยแพร่ธรรมในเมืองเชียงใหม่
พระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือพญาลิไท มีมเหสีชื่อพระนางศรีธรรม ทรงมีโอรสสืบพระราชบัลลังก์ต่อมาคือ พระมหาธรรมราชาที่สอง ปีสวรรคตของกษัตริย์พระองค์นี้ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คงอยู่ในระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ. ๑๙๒๑-๑๙๒๗

King of Sukhothai Kingdom : พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงเล่าพระราชประวัติของพระองค์ด้วยพระองค์เองงว่า “พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง กูมีพี่น้องท้องเดียวกันห้าคน ผู้ชายสามผู้หญิงโสง พี่เผื่อผู้อ้ายตายจากเผือ เตียม แต่ยังเล็ก...” ข้อความดังกล่าวไม่ระบุว่าทรงพระราชสมภพเมื่อใด นักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่า พระองค์พระราชสมภาพประมาณปีจอ จุลศักราช ๖๐๐ (พ.ศ. ๑๗๘๑) หรือปีกุล จุลศักราช ๖๐๑ (พ.ศ. ๑๗๘๒) เพราะตามพงศาวดารเมืองเหนือ เช่น พงศาวดารโยนกกล่าวว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระสหายรุ่นราวคราวเดียวกับ พ่อขุนมังราย เจ้าเมืองเชียงใหม่และพ่อขุนงำเมือง เจ้าเมืองพะเยา และเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกัน คือทรงศึกษาอยู่ในสำนักสุกกทันตฤษี ณ เมืองละโว้ (ลพบุรี) พงศาวดารและจดหมายเหตุเมืองเหนือระบุว่า พ่อขุนมังรายสมภาพในปีกุน จุลศักราช ๖๐๑ (พ.ศ. ๑๗๘๒) และพ่อขุนงำเมืองสมภพในปีจอจุลศักราช ๖๐๐ (พ.ศ. ๑๗๘๑)
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงมีพระนามเดิมว่าขุนรามราช เมื่อทรงพระชนมายุได้ ๑๙ ปี ได้ช่วยพระราชบิดาออกสู้รบในการสงครามกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ซึ่งยกทัพมาตีเมืองตาก ทรงเป็นนักรบที่เข้มแข็งสามารถเข้าชนช้างชนะขุนสามชนพวกเมืองฉอดจึงแตกพ่ายไป พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงให้พระนามแก่ขุนรามราช “พระรามคำแหง” ซึ่งหมายความว่า “พระรามผู้เข้มแข็ง” หรือ “เจ้ารามผู้เข้มแข็ง” ดังข้อความความในตอนหนึ่งในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ที่ว่า “...เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาที่เมืองตาก พ่อกูไปรบ ขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้าไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกู หนีญญ่ายพายจแจ๋น กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนก็พุ่งช้างขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนีพ่อกูจึงขึ้นชื่อกูพระรามคำแหง...”
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นกุลบุตรที่ดีอยู่ในโอวาทของพระราชบิดา พระราชมารดา และทรงเป็นพระอนุชาที่จงรักภักดีต่อขุนบานเมืองพระเชษฐา ดังข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ที่ว่า “...กูบำเรอพ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวานอันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นางได้เงือนได้ทองกูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตาย ยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู...”
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็นรัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์พระร่วงในราวปี พ.ศ. ๑๘๒๒ รัชสมัยของพระองค์ บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่ารัชกาลใด ๆ ในราชวงศ์พระร่วงราชอาณาเขตแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวางประชาชนได้รับความร่มเย็นเป็นสุขทั่วหน้าที่เรียกกันว่า “ไพร่ฟ้าหน้าใส” การพาณิชย์เจริญก้าวหน้าทรงทำนุบำรุงศิลปวิทยาการให้เจิรญรุ่งเรืองหลายประการ

King of Sukhothai Kingdom : พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ชีวิตในเยาว์วัยของผู้สถาปนากรุงสุโขทัย อันเป็นองค์ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงพระองค์นี้ไม่เป็นที่ปรากฏชัด ณ ที่แห่งใด ในศิลาจารึก ตำนาน พงศาวดารและจดหมายเหตุต่าง ๆ ก็ไม่ได้กล่าวถึง ปฐมวัยของผู้นำคนไทยผู้นี้ไว้ที่ใด คงมีเพียงหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่งพระเถระแห่งล้านนาไทย ชื่อ พระรัตนปัญญาเถระ แต่งขึ้นเพื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๐๖๑ – ๒๐๗๑ พูดถึงอย่างย่อ ๆ ว่า “...เมื่อพระสัมมาสัมพุทธปรินิพพานแล้วได้ ๑๘๐๐ ปี จุลศักราช ๖๑๘ มีกษัตริย์องค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า โรจราช ครองราชสมบัติอยู่ในเมืองสุโขทัย ประเทศสยาม ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของชมพูทวีป...
ได้ยินว่า ที่ตำบลบ้านโค ยังมีชายคนหนึ่งรูปงาม มีกำลังมากท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่ง เห็นชายคนนั้นแล้วใคร่จะร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมายาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับนางเทพธิดาองค์นั้น เนื่องจากการร่วมสังวาสของเขาทั้งสองนั้นจึงเกิดบุตรชายคนหนึ่งและบุตรชายคนนั้นมีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายคนนั้น บุตรชายซึ่งครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัยนั้น ปรากฎพระนามในครั้งนั้นว่า โรจราชภายหลังปรากฏพระนามว่า พระเจ้าล่วง...” ศาสตราจารย์ ร.ต.ท. แสงมนวิฑูร ผู้แปลหนังสือเรื่องนี้ให้คำอธิบายว่าพระเจ้าโรจราชสมัย พ.ศ. ๑๘๐๐ นั้น คือ พ่อขุนบางกลางหาว ปฐมกษัตริย์ราชวงพระร่วง ในศิลาจารึกเรียกว่า ศรีอินทราทิตย์บ้านโค นั้นอาจเป็นบ้านโคน หรือเมืองบางคนทีในเขตจังหวัดกำแพงเพชร พระเจ้าล่วงก็คือ พระร่วง
แม้จะเป็นหลักฐานที่ค่อนข้างเลื่อนลอย ไม่ว่าระยะเวลา สถานที่หรือตัวบุคคลแต่ชินกาลมาลีปกรณ์ เขียนขึ้นหลังเหตุการณ์นั้นประมาณ ๒๐๐ ปี ซึ่งไม่ใช่ระยะเวลาที่ห่างจนเกินไปนัก จึงน่าจะมีเค้าความเป็นจริงปะปนอยู่บ้าง แม้อาจไม่ใช่ทั้งหมด พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปรากฏชัดในประวัติศาสตร์สุโขทัย หลายหลักโดยเฉพาะหลักที่ ๒ หรือหลักวัดศรีชุม กล่าวว่า ก่อนที่จะได้เป็นกษัตริย์ครองสุโขทัยนั้น ได้เป็นผู้นำคนไทยกลุ่มหนึ่งมีชื่อว่าพ่อขุนบางกลางหาว และเมื่อระหว่างปี พ.ศ. ๑๗๖๒-๑๗๘๑ ได้ร่วมมือกับพ่อขุนผาเมือง ผู้นำคนไทยที่สำคัญอีกคนหนึ่ง นำกำลังทหารเข้ายึดเมืองสุโขทัย จากขอมสบาดโขลญลำพง แล้วสถาปนาสุโขทัยเป็นอาณาจักรของคนไทย
เชื่อกันว่า อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยในรัชสมัยนี้ ทางทิศเหนือจดเมืองแพร่ทิศใต้จดนครสวรรค์ (พระบาง) ทิศตะวันตกจดเมืองตาก ทิศตะวันออกจดจังหวัดเพชรบูรณ์ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สวรรคตในปีใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด

King of Sukhothai Kingdom : พ่อขุนผาเมือง

พ่อขุนผาเมือง
เช่นเดียวกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ชีวิตในปฐมวัยของผู้นำไทยคนสำคัญผู้นี้ไม่มีกล่าวไว้ในที่ใด ทราบจากศิลาจารึกหลักที่ ๒ เพียงว่า ท่านเป็นโอรสพ่อขุนศรีนาวนัมถม ผู้นำสุโขทัยก่อนราชวงศ์พระร่วง ได้เป็นเจ้าเมืองราดและคงจะอยู่ในฐานะรัชทายาทของเมืองสุโขทัย จึงได้อภิเษกกับเจ้าหญิงแห่งอาณาจักรขอม ชื่อนางสิขรมหาเทวี ได้รับมอบพระขรรค์ไชยศรี และนามศรีอินทรบดินทราทิตย์จากกษัตริย์ขอม
พ่อขุนผมเมืองเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดผู้หนึ่งในการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย เจ้าชายผู้นี้เป็นผู้พิชิตศึกที่สุโขทัยรบชนะขอมสบาดโขลญลำพง และยึดเมืองไว้ได้ก่อนที่พ่อขุนบางกลางหาวจะนำทัพผ่านศรีสัชนาลัยมาถึงสุโขทัย โดยแท้จริงแล้วเมืองสุโขทัยขณะนั้นเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของพ่อขุนผาเมือง แต่เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ และต้องร่วมมือกับสหายคือพ่อขุนบางกลางหาวเข้าปราบปรามแล้ว แทนจะใช้สิทธิ์นั้นเข้าครอบครองสุโขทัย ก็กลับยกให้สหายพร้อมอภิเษกและมอบนามศรีอินทราบดินทราทิตย์ให้ด้วย ดังความในศิลาจารึกหลักที่ ๒ ตอนหนึ่งกล่าวว่า “...พ่อขุนผาเมือง...ขอมสลาดโขลญลำพง...พายพง พ่อขุนผาเมืองจึงยังเมืองสุโขทัยเข้าได้ เวินเมืองแก่พ่อขุนบางกลางหาว พ่อขุนบางกลางหาวมิสู่เข้าเพื่อเกรงแก่มิตรสหาย พ่อขุนผาเมืองจึงเอาพลออก พ่อขุนบางกลางหาวจึงเข้าเมืองพ่อขุนผาเมืองอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองสุโขทัยให้ทั้งชื่อตนแก่พระสหาย เรียกชื่อศรีอินทราทิตย์ นามเดิมกมรเต็งอัญผาเมือง เมื่อก่อนผีฟ้าเจ้าเมืองศรีโสธรปุระ ให้ลูกสาวชื่อนางสิขรมหาเทวี กับขันไชยศรี ให้นามเกียรติแก่พ่อขุนผาเมือง เทียมพ่อขุนบางกลางหาว ได้เชื่อศรีอินทราบดินทราทิตย์ เพื่อพ่อขุนผาเมืองเอาชื่อตนให้แก่พระสหาย...”
เมื่อทำการอภิเษกมอบนามให้เมืองแก่พระสหายแล้ว พ่อขุนผาเมืองก็คงจะอยู่ช่วยราชการที่สุโขทัย อยู่จนสถานการณ์เข้าสู่ปกติแล้ว จึงเดินทางกลับเมืองราด แล้วชื่อของบุคคลสำคัญผู้นี้ก็หายไปอย่างไม่มีร่องรอยใหสืบเค้าได้อีกเลย
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

King of Sukhuthai Kingdom : พ่อขุนศรีนาวนัมถม

พ่อขุนศรีนาวนัมถม
ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 ที่มาของประวัติศาสตร์สุโขทัยก่อนอาณาจักรสุโขทัย กล่าวว่าดินแดนสุโขทัยและศรีสัชนาลัยก่อนสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ นั้น มีชุมชนอยู่เป็นหลักแหล่งเป็นแคว้นนครรัฐ มีที่ตั้งศูนย์อำนาจการปกครองที่ถาวร เชื่อกันว่าศูนย์อำนาจการปกครองที่สุโขทัยตั้งอยู่บริเวณใกล้วัด พระพายหลวงเมืองเก่าสุโขทัย ส่วนที่ศรีสัชนาลัย น่าจะอยู่บริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดพระปรางค์) ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย แคว้นหรือนครรัฐทั้ง 2 แห่งนี้ ปกครองโดยพ่อขุนศรีนาวนัมถม พ่อขุนศรีนาวนัมถมจะเป็นคนสุโขทัยหรือมีที่มาจากแห่งอื่นใด ไม่มีหลักฐานกล่าวถึง แต่นักประวัติศาสตร์หลายท่านเชื่อว่า ท่านเป็นผู้นำกลุ่มชนที่สุโขทัยราว ๆ กลางพุทธศตวรรษที่ 18 และ คงเป็นกษัตริย์ที่มีอำนาจ แพร่หลายออกไปกว้างไกล จนเป็นที่ยอมรับของแคว้นใกล้เคียง จนกษัตริย์ขอมยกธิดาให้อภิเษกกับโอรสองค์หนึ่ง พ่อขุนศรีนาวนัมถมมีโอรส 2 องค์ คือ พ่อขุนผาเมือง และพระยาคำแหงพระราม เมื่อสิ้นรัชสมัยของพ่อขุนศรีนามนัมถมแล้ว สุโขทัยเกิดความไม่สงบในการสืบราชบัลลังก์ จนพ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาวต้องใช้กำลังทหารเข้าจัดการและเมื่อเหตุการณ์สงบลงแล้ว พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ก็ขึ้นครองราชสมบัติ เปลี่ยนเป็นราชวงศ์พระร่วง พ่อขุนศรีนาวนัมถมจึงถูกลืมไปเสียสนิทว่า แม้จริงแล้วทรงเป็นกษัตริย์สุโขทัยมาก่อนพ่อขุนศรีอินทราทิตย์

จังหวัดสุโขทัย

ประวัติจังหวัดสุโขทัย
จังหวัด "สุโขทัย" มาจากคำสองคำ คือ "สุข + อุทัย" หมายความว่า "รุ่งอรุณแห่งความสุข" ซึ่งเป็นที่ตั้งอาณาจักรแห่งแรกของชนชาติไทยเมื่อประมาณกว่า 700 ปีที่แล้ว ประมาณ พ.ศ.1800 พ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองบางยาง และพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ได้ร่วมกันนำทัพเข้ายึดเมืองคืนจากขอมและสร้างเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี มีพ่อขุนบางกลางหาว เป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองสุโขทัย ทรงมีพระนามใหม่ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นยุคที่อาณาจักรสุโขทัย เจริญรุ่งเรืองที่สุดในทุกด้าน โดยเฉพาะทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เมื่อ พ.ศ.1826 ซึ่งจารึกไว้บนแผ่นศิลาเป็นหลักฐานสำคัญให้ทราบความเป็นมาของจังหวัดสุโขทัย
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้ตั้งเมืองสุโขทัยแห่งใหม่ที่ บ้านธานี (ท่าหนี) ริมแม่น้ำยม และเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2475 ได้ยุบเลิกอำเภอราชธานี เป็นอำเภอสุโขทัยธานี ขึ้นกับจังหวัดสวรรคโลก จนกระทั่ง พ.ศ.2482 ได้ยกฐานะอำเภอสุโขทัยธานีขึ้นเป็นจังหวัด "สุโขทัย
"

Sukhothai Province


Sukhothai is one of the northern provinces (Changwat) of Thailand. Neighboring provinces are (from north clockwise) Phrae, Uttaradit, Phitsamulok, Kamphaeng Phet, Tak and Lampang.Geography


Sukhothai is located in the valley of the Yom River. The Ramkhamhaeng National Park in the south of the province and the Sri Satchanalai in the north-west both protect the mountainous forest areas of the province.


History

The province is most famous for the historic city of Sukhothai, the capital of the Sukhothai Kingdom. It is located about 12 km from the modern New Sukhothai city. Not far from Sukhothai is the Si Satchanalai Historical Park, a second city of the same time.

Administrative Divisions

The province is subdivided in 9 districts (Amphoe). These are further subdivided into 86 communes (Tambon) and 782 villages (Muban).




  1. Mueang Sukhothai

  2. Ban Dan Lan Hoi

  3. Khiri Mat

  4. Kong Krailat

  5. Si Satchanalai

  6. Si Samrong

  7. Sawankhalok

  8. Si Nakhon

  9. Thung Saliam