สายลมที่หวังดี - สุเมธ

Geography

Phitsanulok province covers some 10,584.5 sq. km. The riverside provincial capital is 377 km. North of Bangkok. Phitsanulok is situated on the geographical and administrative line uniting the central and northern regions. Phitsanuloke, located in Central Northern Thailand is a modern city. Ideal as a stepping stone for the Northern visitors attractions including Sukothai.
Phitsanulok was the birthplace of King Naresuan the Great of Ayuthaya (reign : 1590 - 1605), and his brother Prince Ekathosarot. Phitsanulok has long been an important center for political and strategic reasons. Phitsanulok was a major center of recruitment when Ayuthaya waged war with Burma, and was the capital of Thailand for 25 years during the 1448-1488 reign of Ayuthaya’s King Boromtrailokanat.
The climate of Phitsanulok is generally hot and humid. It borders with Uttaradit in he North, Pichit in the south, Loei and Phetchabun in the East, Kamphaeng Phet and Sukhothai in the West. Covering an area of 10,815.8 sq.km., the province is divided into 9 Amphoes : Muang , Bang Rakam , Nakhon Thai , Phrom Priram , Wat Bot - BangKrathum , Chat Trakan , Noen MaPrang , Wang Thong

City Attraction

Wat Phra Si Rattana Mahathat his monastery commonly called by the inhabitants as "Wat Yai" is the most important monastery of Phitsanulok, the home of the famous Phra Buddha Chinnarat. It is located at the foot of Naresuan Bridge on the city side of the river.The monastery was built in the reign of Phra Maha Thamma Racha I (Phraya Lithai) In 1357 A.D. It houses the Phra Buddha Chinnarat regarded as the most beautiful Buddha image in Thailand. It is cast in the attitude of subduing evil. Later, in 1631, King Ekatosarot graciously bestowed some of his gold regalia to be beaten into gold - plate and applied them to the image worth his own hands, creating its most beautiful Buddha image. There are many other beautiful and noteworthy items in the monastery compound. The mother - of - pearl inlaid wooden doors of Vihara are especially splendid, and were built by King Boromkot in 1756 as a dedication to phra Buddha Chinarat. Behind the Vihara, there is a large Prang 36 meters high, with a staircase leading up to the niche containing the Buddha relics. In front of the Prang, there is Phra Attharos, and on the 9 room Vihara slope. There remains only the newly-renovated Buddha image.
Wat Ratchaburana nad Wat Nang Phya Is located on the eastern bank of the Nan river, near Wat Phra Si Rattana Mahathat to the south. These two monasteries, assumed to be built when Phitsanulok City was ruled by King Boromtrailokanat, have linking compounds. Wat Nang Phya has temple or bot but it is known for the so-called "Phra Nang Phya" votive tablets special fine form of the 3-head nagas decorated on their eaves.
King Naresuan the Great Shrine The shrine is located in the compound of the Phitsanulok Phittayakom school, and depicts the seated king ceremoniously declaring Ayuthaya's independence from Burma. The shrine was constructed on the site of the Channdra Palace where King Naresuan was born in 1555.

Saturday, May 26, 2007

King of Sukhothai Kingdom : พระมหาธรรมราชาลิไท

พระมหาธรรมราชาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่ ๑)
พระมหาธรรมราชาลิไท เป็นโอรสของพ่อขุนเลอไท และเป็นนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระราชประวัติในช่วงปฐมวัย ไม่ปรากฎ ณ ที่ใด แต่เมื่อทรงพระเจริญวัยแล้วศิลาจารึกสุโขทัยหลายหลักกล่าวถึงเรื่องราวของพระองค์แม้จะไม่สมบูรณ์แต่ก็พอทราบเรื่องราวได้ว่า พระมหากษัตริย์พระองค์นี้ได้ทรงศึกษาศิลปศาสตร์แขนงต่าง ๆ ที่ผู้ปกครองในขณะนั้นต้องเรียนต้องศึกษาได้อย่างแตกฉาน และชำนิชำนาญยิ่ง และทรงปกครองเมืองศรีสัชนาลัย ในฐานะองค์อุปราชหรือรัชทายาทเมืองสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๘๒ และขณะที่ดำรงพระราชสริยยศเป็นรัชทายาท ที่เมืองศรีสัชนาลัยนี่เอง ได้ทรงพระราชนิพนธ์ เรื่องไตรภูมิพระร่วง วรรณคดีชิ้นแรกของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๘๘ หนังสือเรื่องนี้แม้ผู้รจนาได้กล่าไว้ในบางแผนกว่า เพื่อจะเทศนาแก่พระมารดาของพระองค์ แต่เป็นประกาศนียบัตรที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถในความรอบรู้เรื่องพระพุทธศาสนาอย่างยอดเยี่ยมเป็นวิทยานิพนธ์ที่ก้าวล้ำหน้าสมบูรณ์แบบ เพราะที่มีข้ออ้างอิงที่เป็นระบบโดยทรงค้นคว้ามาจากคัมภีร์ต่าง ๆ ทางพุทธศาสนา ถึง ๓๔ เรื่อง ไตรภูมิพระร่วง นอกจากจะให้เนื้อหาสาระทางพระพุทธศาสนา อันเป้าหมายของผู้รจนาแล้ว ยังให้ความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์ รัฐศาสตร์ และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภูมิศาสตร์ของโลกที่คนไทยรู้จักกันในสมัยนั้นถือการแบ่งทวีปทั้ง ๔ อันมี ชมพูทวีป บุพวิเทหะ อุตรกุรุและกมรโคยานี
หลังจากทรงเป็นรัชทายาทครองเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ ๘ ปี จึงเสด็จมาครองสุโขทัยเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๐ โดยต้องใช้กำลังทหารเข้ามายึดอำนาจเพราะที่สุโขทัยหลังสิ้นรัชกาลพ่อขุนงัวนำถมแล้วเกิดการกบฏการสืบราชบัลลังก์ไม่เป็นไปตามครรลองครองธรรม เมื่อกลับมาครองราชสมบัติสุโขทัยแล้ว พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ คือ การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ เพราะสุโขทัยหลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้วบ้านเมืองแตกแยกแคว้นหลายแคว้นในราชอาณาจักรแยกตัวออกห่างไป ไม่อยู่ในบังคับบัญชาสุโขทัยต่อไป
พญาลิไททรงคิดจะรวบรวมให้กลับคืนดังเดิม แต่ก็ทรงทำไม่สำเร็จ นโยบายการปกครองที่ใช้ศาสนาเป็นหลักรวมความเป็นปึกแผ่นจึงเป็นนโยบายหลักในรัชสมัยนี้ ทรงสร้างเจดีย์ที่นครชุม (เมืองกำแพงเพชร) สร้างพระพุทธชินราชที่พิษณุโลก และเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๕ ทรงออกผนวช การที่ทรงออกผนวช นับว่าทำความมั่นคงให้พุทธศาสนามากขึ้น ดังกล่าวแล้วว่า หลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยก วงการสงฆ์เองก็แตกแยก แต่ละสำนักแต่ละเมืองก็ปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เมื่อผู้นำทรงมีศรัทธาแรงกล้าถึงขั้นออกบวช พสกนิกรทั้งหลายก็คล้อยตามหันมาเลื่อมใสตามแบบอย่างพระองค์ กิตติศัพท์ของพระพุทธศาสนาในสุโขทัยจึงเลื่องลือไปไกล พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่หลายรูปได้ออกไปเผยแพร่ธรรมในแคว้นต่าง ๆ เช่น อโยธยา หลวงพระบาง เมืองน่าน พระเจ้ากือนา แห่งล้านนาไทย ได้นิมนต์พระสมณะเถระไปจากสุโขทัย เพื่อเผยแพร่ธรรมในเมืองเชียงใหม่
พระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือพญาลิไท มีมเหสีชื่อพระนางศรีธรรม ทรงมีโอรสสืบพระราชบัลลังก์ต่อมาคือ พระมหาธรรมราชาที่สอง ปีสวรรคตของกษัตริย์พระองค์นี้ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คงอยู่ในระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ. ๑๙๒๑-๑๙๒๗

No comments: