สายลมที่หวังดี - สุเมธ

Geography

Phitsanulok province covers some 10,584.5 sq. km. The riverside provincial capital is 377 km. North of Bangkok. Phitsanulok is situated on the geographical and administrative line uniting the central and northern regions. Phitsanuloke, located in Central Northern Thailand is a modern city. Ideal as a stepping stone for the Northern visitors attractions including Sukothai.
Phitsanulok was the birthplace of King Naresuan the Great of Ayuthaya (reign : 1590 - 1605), and his brother Prince Ekathosarot. Phitsanulok has long been an important center for political and strategic reasons. Phitsanulok was a major center of recruitment when Ayuthaya waged war with Burma, and was the capital of Thailand for 25 years during the 1448-1488 reign of Ayuthaya’s King Boromtrailokanat.
The climate of Phitsanulok is generally hot and humid. It borders with Uttaradit in he North, Pichit in the south, Loei and Phetchabun in the East, Kamphaeng Phet and Sukhothai in the West. Covering an area of 10,815.8 sq.km., the province is divided into 9 Amphoes : Muang , Bang Rakam , Nakhon Thai , Phrom Priram , Wat Bot - BangKrathum , Chat Trakan , Noen MaPrang , Wang Thong

City Attraction

Wat Phra Si Rattana Mahathat his monastery commonly called by the inhabitants as "Wat Yai" is the most important monastery of Phitsanulok, the home of the famous Phra Buddha Chinnarat. It is located at the foot of Naresuan Bridge on the city side of the river.The monastery was built in the reign of Phra Maha Thamma Racha I (Phraya Lithai) In 1357 A.D. It houses the Phra Buddha Chinnarat regarded as the most beautiful Buddha image in Thailand. It is cast in the attitude of subduing evil. Later, in 1631, King Ekatosarot graciously bestowed some of his gold regalia to be beaten into gold - plate and applied them to the image worth his own hands, creating its most beautiful Buddha image. There are many other beautiful and noteworthy items in the monastery compound. The mother - of - pearl inlaid wooden doors of Vihara are especially splendid, and were built by King Boromkot in 1756 as a dedication to phra Buddha Chinarat. Behind the Vihara, there is a large Prang 36 meters high, with a staircase leading up to the niche containing the Buddha relics. In front of the Prang, there is Phra Attharos, and on the 9 room Vihara slope. There remains only the newly-renovated Buddha image.
Wat Ratchaburana nad Wat Nang Phya Is located on the eastern bank of the Nan river, near Wat Phra Si Rattana Mahathat to the south. These two monasteries, assumed to be built when Phitsanulok City was ruled by King Boromtrailokanat, have linking compounds. Wat Nang Phya has temple or bot but it is known for the so-called "Phra Nang Phya" votive tablets special fine form of the 3-head nagas decorated on their eaves.
King Naresuan the Great Shrine The shrine is located in the compound of the Phitsanulok Phittayakom school, and depicts the seated king ceremoniously declaring Ayuthaya's independence from Burma. The shrine was constructed on the site of the Channdra Palace where King Naresuan was born in 1555.

Wednesday, May 30, 2007

หลวงพ่อทัพย์ พรหมปัญญา


หลวงพ่อทรัพย์พรหมปัญญาเกิดเมื่อปีพ.ศ.2421ที่จังหวัดสุพรรณบุรี
บิดาชื่อนายแจ้ง มารดาชื่อนางอินทร์ มีพี่น้องร่วมบิดา3คน คือ
คนที่1นายทรัพย์
คนที่2นายสิน
คนที่3นางแสง

จากคำบอกเล่ากล่าวกันว่า ครอบครัวของหลวงพ่อทรัพย์ได้อพยพกันมาจากบ้านล่าง(คนภาคเหนือเรียกคนภาคกลางหรือจังหวัดที่อยู่ใต้บ้านตัวเองว่าบ้านล่าง) บางท่านว่ามาจากจังหวัดอ่างทองบ้างและจังหวัดอยุธยาบ้าง โดยอพยพมาอาศัยอยู่ที่บ้านกำแพงดิน จังหวัดพิจิตรก่อน (คาดว่าอาศัยการเดินทางโดยทางเรือซึ่งสมัยนั้นใช้เดินทางทางน้ำสะดวกที่สุด ประกอบกับกำแพงดินมีแม่น้ำยมไหลผ่าน)

ชีวิตในวัยเด็กนั้นลำบากมาก ต้องอาศัยยุ้งข้าวของชาวบ้านหลับนอน จึงมีคนนำมาฝากไว้ที่วัดกำแพงดินจนกระทั่งได้บรรพชาเป็นสามเณร และเมื่ออายุครบบวช จึงทำการอุปสมบทที่วัดกำแพงดิน (วัดพลับ) เมื่อปี พ.ศ.2442 มีฉายาว่า "พรหมปัญญา" โดยมีพระครูชุมแสงสงคราม อุดมเขต (อู่) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดดิษฐ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์สว่าง เป็นพระอนุศาสนาจารย์ หลังจากจำพรรษาอยู่ที่วัดกำแพงดินอยู่ระยะหนึ่ง จึงได้ออกธุดงค์เพื่อศึกษาหาความรู้ โดยศึกษาพระธรรมและวิทยาคมจากเกจิอาจารย์หลายท่านด้วยกัน จนมีความรู้แตกฉานทั้งด้านพระธรรมและวิทยาคม ต่อมาได้มาจำพรรษาที่วัดพันเสา อำเภอบางระกำ 1 พรรษา หลังจากนั้นจึงมาอยู่ที่วัดปลักแรดตลอดเรื่อยมา

ในขณะที่อยู่วัดปลักแรดนั้น ประชาชนทั่วไปเรียกท่านว่า "หลวงพ่อทรัพย์ พรหมปัญญา" ท่านได้ก่อสร้างและบูรณะถาวรวัตถุภายในวัด จนวัดปลักแรดมีความเจริญทางด้านถาวรวัตถุ นอกจากนั้นท่านยังเผยแพร่พระธรรมตามที่ได้ศึกษามาแก่ประชาชน ทำให้ประชาชนชาวปลักแรดมีธรรมะอยู่ในจิตใจ จึงเป็นที่รักใคร่ของประชาชนชาวปลักแรด ความศรัทธาในองค์หลวงพ่อทรัพย์ พรหมปัญญา ได้แผ่กระจายไปทั่ว ทำให้ประชาชนในอำเภอบางระกำ อำเภอใกล้เคียง และจังหวัดใกล้เคียงรู้ถึงความเมตตา และวิทยาคมของท่าน ต่างพากันมากราบนมัสการท่านตลอดมา

จนกระทั่งในปี พ.ศ.2500 ประชาชนชาวปลักแรดซึ่งเป็นศิษย์ของท่านและผู้อุปถัมภ์ท่าน ได้ร่วมใจกันสร้างรูปหล่อท่านเท่าองค์จริงขึ้น โดยจ้างช่างมาปั้นหุ่นขี้ผึ้งรูปหล่อ แล้วนำรูปหล่อของท่านมาไว้ที่กุฏิเพื่อให้ประชาชนเคารพบูชา (รูปหล่อของท่านนั้น ท่านนั่งปลุกเสกเองตลอดไตรมาส 3 เดือน)

กาลเวลาล่วงเลยไป จนกระทั่งวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2509 หลวงพ่อทรัพย์ พรหมปัญญา อาพาธลงอย่างกระทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้เยียวยารักษาคือคุณหมออำนวย เจียมศรีพงษ์ จนถึงคืนวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2509 ก็มีเสียงบ่างเสียงชะนีร้องโหยหวนตลอดทั้งคืน จนกระทั่งรุ่งขึ้นในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2509 ท่านจึงได้มรณภาพลงด้วยอาการสงบ ยังความเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างยิ่งของชาวบ้านปลักแรดและชาวบ้านใกล้เคียง รวมศิริอายุของท่านได้ 88 ปี 67 พรรษา ในพิธีฌาปณกิจศพหลวงพ่อ ได้เกิดปรากฏการณ์เกิดขึ้นคือฝนได้ตกโปรยปรายลงมาเฉพาะบริเวณวัดเท่านั้น

อุปนิสัยของหลวงพ่อทรัพย์ พรหมปัญญา เป็นพระภิกษุที่เรียบง่าย พูดน้อย และขณะพูดท่านมักจะไม่ชอบมองหน้าใคร ท่านจะนั่งเงยหน้ามองเพดานตลอด จะอยู่ในกุฏิเป็นส่วนใหญ่ ถ้าพระลูกวัดรูปใดปฏิบัติตนไม่เหมาะสม ท่านจะใช้คำพูดสอนเพียงไม่กี่คำ แต่ให้ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง และจะไม่สอนเลยทันที ท่านจะต้องดูโอกาสที่เห็นว่าเหมาะสมจึงจะสอน

วัตถุมงคลของหลวงพ่อทรัพย์ พรหมปัญญา ส่วนใหญ่จุดประสงค์ของหลวงพ่อที่จัดสร้าง ก็เพื่อต้องการมอบให้กับผู้ที่ร่วมทำบุญกับทางวัดในการจัดสร้างศาลาการเปรียญ และถาวรวัตถุภายในวัด วัตถุมงคลของหลวงพ่อที่สร้างในยุคแรก ได้แก่ ตะกรุด ต่อมาก็เป็นรูปถ่าย เหรียญ และรูปหล่อ ตามลำดับ เหรียญและรูปหล่อของหลวงพ่อ มีการจัดสร้างกันหลายรูปแบบหลายครั้ง

No comments: