สายลมที่หวังดี - สุเมธ

Geography

Phitsanulok province covers some 10,584.5 sq. km. The riverside provincial capital is 377 km. North of Bangkok. Phitsanulok is situated on the geographical and administrative line uniting the central and northern regions. Phitsanuloke, located in Central Northern Thailand is a modern city. Ideal as a stepping stone for the Northern visitors attractions including Sukothai.
Phitsanulok was the birthplace of King Naresuan the Great of Ayuthaya (reign : 1590 - 1605), and his brother Prince Ekathosarot. Phitsanulok has long been an important center for political and strategic reasons. Phitsanulok was a major center of recruitment when Ayuthaya waged war with Burma, and was the capital of Thailand for 25 years during the 1448-1488 reign of Ayuthaya’s King Boromtrailokanat.
The climate of Phitsanulok is generally hot and humid. It borders with Uttaradit in he North, Pichit in the south, Loei and Phetchabun in the East, Kamphaeng Phet and Sukhothai in the West. Covering an area of 10,815.8 sq.km., the province is divided into 9 Amphoes : Muang , Bang Rakam , Nakhon Thai , Phrom Priram , Wat Bot - BangKrathum , Chat Trakan , Noen MaPrang , Wang Thong

City Attraction

Wat Phra Si Rattana Mahathat his monastery commonly called by the inhabitants as "Wat Yai" is the most important monastery of Phitsanulok, the home of the famous Phra Buddha Chinnarat. It is located at the foot of Naresuan Bridge on the city side of the river.The monastery was built in the reign of Phra Maha Thamma Racha I (Phraya Lithai) In 1357 A.D. It houses the Phra Buddha Chinnarat regarded as the most beautiful Buddha image in Thailand. It is cast in the attitude of subduing evil. Later, in 1631, King Ekatosarot graciously bestowed some of his gold regalia to be beaten into gold - plate and applied them to the image worth his own hands, creating its most beautiful Buddha image. There are many other beautiful and noteworthy items in the monastery compound. The mother - of - pearl inlaid wooden doors of Vihara are especially splendid, and were built by King Boromkot in 1756 as a dedication to phra Buddha Chinarat. Behind the Vihara, there is a large Prang 36 meters high, with a staircase leading up to the niche containing the Buddha relics. In front of the Prang, there is Phra Attharos, and on the 9 room Vihara slope. There remains only the newly-renovated Buddha image.
Wat Ratchaburana nad Wat Nang Phya Is located on the eastern bank of the Nan river, near Wat Phra Si Rattana Mahathat to the south. These two monasteries, assumed to be built when Phitsanulok City was ruled by King Boromtrailokanat, have linking compounds. Wat Nang Phya has temple or bot but it is known for the so-called "Phra Nang Phya" votive tablets special fine form of the 3-head nagas decorated on their eaves.
King Naresuan the Great Shrine The shrine is located in the compound of the Phitsanulok Phittayakom school, and depicts the seated king ceremoniously declaring Ayuthaya's independence from Burma. The shrine was constructed on the site of the Channdra Palace where King Naresuan was born in 1555.

Saturday, April 21, 2007

สกุลพระเครื่องเมืองพิษณุโลก : Amulets in Phitsanulok

พิษณุโลก เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาผูกพัน กับประวัติศาสตร์การสร้างชาติไทย มาหลายยุคสมัย มีความสำคัญแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน มีโบราณวัตถุ โบราณสถาน และวิถีชีวิตที่สำคัญน่าสนใจมากมาย เป็นเมืองพระบรมราชสมภพของ สมเด็จ พระนเรศวรมหาราช พระมหาวีรกษัตริย์ ผู้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทย สมเด็จ พระเอกาทศรถ พระอนุชาธิราชคู่พระกฤษฎาภินิหาร และ พระสุพรรณกัลยาณี พระเชษฐาภคินี สามพระพี่น้องผู้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทย

เมืองพิษณุโลก มี พระพิมพ์นางพญา กรุวัดนางพญา เป็นสุดยอดพระเครื่อง ซึ่งเชื่อกันว่า พระนางวิสุทธิกษัตริย์ พระราชมารดาของสมเด็จ พระนเรศวรมหาราช ทรงสถาปนา ขึ้นมา เป็น หนึ่งในพระเบญจภาคี อันเป็นสุดยอดปรารถนาของชาวไทย และยังมี พระพุทธชินราช ใบเสมา ซึ่งเป็น หนึ่งในเบญจภาคีเนื้อชิน ยอดนิยมแห่งสยามประเทศ เป็นพระเครื่องที่เชิดหน้าชูตาของเมืองพิษณุโลก นอกจากนี้แล้ว พิษณุโลก ยังมีพระกรุสำคัญๆ ที่ควรค่าแก่การสะสมนิยมแสวงหาเกือบ ๒๑ กรุ กล่าวคือ

กรุวัดใหญ่ หรือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สถานที่ประดิษฐาน พระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามเป็นหนึ่งในสยาม

นอกจาก พระพุทธชินราชใบเสมา แล้ว ยังมี พระลีลาอัฏฐารส ซึ่งเป็น สุดยอดของพระกรุเนื้อชินเขียวสนิมไขไข่แมงดา ยอดนิยมของเมืองไทย ที่งดงามมาก พบบนเศียร และใต้ฐานพระอัฏฐารส (พระพุทธรูปสูง ๑๘ ศอก) ก่ออิฐถือปูน

ส่วน พระอัฏฐารส องค์โลหะ วัดวิหารทอง ติดพระราชวังจันทน์ ภายหลังอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดสระเกศ (ภูเขาทอง) ในปัจจุบัน และยังมี พระนางแขนอ่อน เนื้อดิน และเนื้อชิน ตลอดจน พระสามนางเนื้อดิน และสุดยอดพระเนื้อชินเงินที่มีพุทธคุณสูงส่ง เป็นที่นิยมแสวงหาและหาได้ยากเป็นยิ่งนักของกรุวัดใหญ่ คือ พระชินสีห์ กับ พระศาสดา

นอกจาก พระพิมพ์นางพญา ที่โด่งดังเป็นเอกอุ กรุวัดนางพญา แล้ว พิษณุโลกยังมีพระพิมพ์นางพญากรุอื่นๆ ซึ่งมีพุทธคุณสูงส่งเป็นที่นิยมแสวงหากันมากเช่นกัน อาทิ พระนางพญา กรุวัดโพธิญาณ (โรงทอ) ซึ่งเป็นอารามสำคัญแต่โบราณ ทางประตูเมืองทิศเหนือ ที่ ตาปะขาว หรือ พระอินทร์ (จำแลง) ได้มาอาสาช่วยปั้นและหล่อพระพุทธชินราชจนแล้วเสร็จงดงาม แล้วเดินออกจากเมืองพิษณุโลกทางประตูเหนือไปหายตัวบริเวณ บ้านเตาไห ซึ่งเป็นชุมชนโบราณที่มีโบราณสถานคือ เตาเผาไห ขนาดใหญ่สมัยสุโขทัยอยู่เป็นจำนวนมาก คล้ายๆ กับเตาทุเรียง สุโขทัย แต่เผาภาชนะที่ใหญ่กว่าประเภทไห

ปัจจุบันเรียกว่า วัดตาปะขาวหาย หรือ บ้านตาปะขาวหาย ต้นกำเนิด พระพิมพ์หลวงพ่อโต เนื้อดิน ที่แพงที่สุดในเมืองไทย หรือ พระพิมพ์รัศมีเนื้อผงสี่เหลี่ยม และ พระปิดตาพิมพ์สามเหลี่ยม เนื้อผงและโลหะ (พิมพ์หลวงปู่ศุข วัดป่าคลองมะขามเฒ่า ซึ่งเป็น สหธรรมิก กับ พระครูต่วน อดีตเจ้าอาวาสวัดตาปะขาวหาย) ได้มาเป็นประธาน สร้างมณฑปวัดตาปะขาวหายและได้สร้างและปลุกเสกบรรจุไว้ในพุทธเจดีย์ของวัดตาปะขาวหาย

พระนางพญา กรุวัดโพธิญาณ หรือ นางกรุโรงทอ เหตุที่เรียกว่า นางโรงทอ เนื่องจากขุดและนำดินจากพระเจดีย์วัดโพธิ์ ไปถมที่สร้างโรงงานทอผ้า รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงกลาโหม (ปัจจุบันปิดกิจการแล้ว) ที่อยู่ติดวัด แล้วพบพระขึ้น ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์มีหู กับ พิมพ์ไม่มีหู จึงเรียกว่า นางโรงทอ และยังพบ พระพุทธชินราชพิมพ์ซุ้มเส้นคู่ เนื้อชินเงิน อันงดงาม อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมี พระนางพญา กรุวัดสุดสวาท ชื่อเป็นมงคลนาม ในทางเมตตามหานิยม สุดสวาทขาดใจรัก เป็นที่นิยมแสวงหากันมาก เรียกว่า บางครั้งหานางสุดสวาทของจริงดูได้ยากกว่านางวัดนางพญา เสียอีก

อีกกระแสหนึ่ง มีผู้รู้บางท่านบอกว่า พระนางสุดสวาทเป็นเพียงตำนานเรื่องเล่าขานเท่านั้นเอง เหมือนกับเรื่องเมืองลับแลนั่นเอง

ที่สำคัญวัดสุดสวาทนี้ ยังมี สกุลพระลีลาเนื้อชินที่มีพุทธศิลป์อันงดงามของเมืองพิษณุโลก คือ พระลีลาสุดสวาท หรือ บางท่านเรียกว่า ลีลาไก่เขี่ย ซึ่งเป็นพระลีลาคู่กับ พระลีลากรุวัดวังหิน เมืองพิษณุโลก

นอกจากนี้แล้ว ยังมี พระนางพญา กรุวัดวังมะสะ อ.พรหมพิราม ซึ่งมีตำนานเล่าขานว่า เป็นสถานที่หนึ่งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงใช้ฝึกชายฉกรรจ์เพื่อเตรียมการในการกอบกู้เอกราชของชาติไทย และมีการพบ พระพิมพ์ยอดขุนพล เนื้อดิน ขึ้นจำนวนหนึ่ง บางครั้งนิยมเรียกกันว่า ขุนแผนเมืองพิษณุโลก และยังมี นางวัดจุฬามณี ซึ่งเป็นชุมชนโบราณแห่งแรกของเมืองพิษณุโลก มาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ

มีโบราณสถานที่สำคัญคือ ปรางค์ขอมโบราณ และพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เนื้อหินทรายสีชมพู ปางสมาธิ นามว่า หลวงพ่อเพชร และเป็นพระอารามที่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งทรงประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลกเป็นเวลา ๒๕ ปี เพื่อป้องกันข้าศึกจากหัวเมืองเหนือ (พ.ศ.๒๐๐๖-๒๐๓๑) และทรงผนวช ที่วัดจุฬามณี นางวัดจุฬามณี มีพุทธคุณสูงส่งเชื่อกันว่าใช้แทนพระพิมพ์นางพญา วัดนางพญา ได้ ประกอบด้วย พิมพ์หน้าฤาษี หลังนาง พิมพ์ซุ้มขีด พิมพ์ชินราช หลังนาง พิมพ์นางหน้าเดียว พิมพ์นางสองหน้า หรือพิมพ์ตลก เป็นต้น

สกุล พระท่ามะปรางเงี้ยวทิ้งปืน กรุวัดท่ามะปราง ซึ่งนิยมแสวงหากันมาก เพราะมีพุทธคุณเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ประจักษ์ มาแต่อดีต แล้วพิษณุโลก ยังมี พระท่ามะปรางที่มีพุทธศิลป์ที่งดงามอีกหลายกรุคือ พระท่ามะปราง กรุวัดสะดือ พระท่ามะปราง กรุวัดใหญ่ ซึ่งมีพุทธศิลป์งดงามที่สุด

พระท่ามะปราง กรุวัดเจดีย์ยอดทอง ซึ่งมี พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สถาปัตยกรรมศิลปะสุโขทัยที่งดงามและสมบูรณ์มากเป็นศาสนสถานที่สำคัญของอารามนี้

พระท่ามะปราง กรุวัดอรัญญิก ซึ่งเป็นอารามอรัญญวาสีมีพระเจดีย์ทรงลังกามาแต่ครั้งสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี เป็นต้นกำเนิด พระพิมพ์ซุ้มอรัญญิก หรือ ซุ้มเสมาทิศ เนื้อดิน และเนื้อชิน หรือ พระร่วงเปิดโลก หรือ พื้นบ้านเรียกว่า พิมพ์ทิ้งดิ่ง และ นางอรัญญิก ตลอดจน พระซุ้มตำลึง เนื้อชินและเนื้อดิน ที่มีพุทธศิลป์อันงดงามเป็นยิ่งนัก

สกุลพระกรุเนื้อผงยอดนิยมเมืองพิษณุโลก คือ พระสิงห์ป้อนเหยื่อ หรือ พระฝักไม้ดำ พระฝักไม้ขาว กรุวัดสุนทรประดิษฐ์ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก มีพุทธคุณดีเด่นทางเมตตามหานิยม และมหาอำนาจ

นอกจากนี้แล้ว ศิลปะพระเครื่องเมืองพิษณุโลก ยังมีสกุลพระกรุที่สำคัญสมัยสุโขทัยที่พบกันมากในพิษณุโลก และสุโขทัย ประเภท พระว่านหน้าทอง และ พระว่านหน้าเงิน กรุวัดใหญ่ กรุวัดราชบูรณะ กรุวัดอรัญญิก กรุเขาสมอแครง ซึ่งมีพระพิมพ์ชินราช เนื้อดิน และเนื้อชินที่มีพุทธศิลป์งดงามมาก เป็นต้น

สกุลพระเครื่องเมืองพิษณุโลก ถ้าจัด ๕ อันดับ หรือที่เรียกว่าเบญจะนั้นสามารถ ประมวลจัดลำดับ ยอดนิยม ในแต่ละประเภทที่น่าสนใจได้ดังนี้ คือ เนื้อชิน ยอดนิยมเมืองพิษณุโลก ประกอบด้วย พระพุทธชินราชใบเสมา พระพุทธชินสีห์ พระศาสดา พระลีลาอัฏฐารส และ พระนางแขนอ่อน กรุวัดใหญ่

เนื้อดิน ยอดนิยมเมืองพิษณุโลก ประกอบด้วย พระพิมพ์นางพญา วัดนางพญา นางวัดโพธิ์ (โรงทอ) พระท่ามะปรางเงี้ยวทิ้งปืน กรุวัดท่ามะปราง นางแขนอ่อน (เนื้อดิน) กรุวัดใหญ่ และ นางวัดจุฬามณี กรุวัดจุฬามณี

เนื้อผง ยอดนิยมเมืองพิษณุโลก ประกอบด้วย พระพิมพ์สิงห์ป้อนเหยื่อ (พระฝักไม้ดำ หรือ พระฝักไม้ขาว) กรุบางระกำ พระพิมพ์รัศมี พระครูต่วน พระปิดตา พิมพ์สามเหลี่ยม พระครูต่วน วัดตาปะขาวหาย และ พระผงใบลาน หลวงพ่อฝ้าย วัดสนามชัย

เหรียญพระพุทธชินราช ยอดนิยมเมืองพิษณุโลก ประกอบด้วย เหรียญ พระพุทธชินราช หลังอกเลา พ.ศ. ๒๔๖๐, เหรียญพระพุทธชินราช หลังหนังสือ สามแถว, หลังหนังสือห้าแถว พ.ศ. ๒๔๖๐, เหรียญ พระพุทธชินราช หลังพญานาค, เหรียญพระพุทธชินราช หลังงานกสิกรรม (ไถนา) พ.ศ. ๒๔๕๗

รูปหล่อ พระกริ่งยอดนิยมเมืองพิษณุโลก ประกอบด้วย พระกริ่งนเรศวร พ.ศ. ๒๕๐๗ (พล.ต.ต.ยรรยง สะท้านไตรภพ) พระกริ่งนเรศวรวังจันทร์ พ.ศ. ๒๕๑๕, พระชินราชอินโดจีน, พระกริ่งธรรมราชา พระกริ่งนางพญา (กริ่งวิสุทธิกษัตริย์) วัดนางพญา พ.ศ. ๒๕๑๔, พระกริ่งนเรศวรเผด็จศึก พ.ศ. ๒๕๒๒

เหรียญยอดนิยมชุดเล็ก เมืองพิษณุโลก ประกอบด้วย เหรียญจักรพรรดิ พ.ศ. ๒๕๑๕, เหรียญนเรศวร ๔๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๓๓, เหรียญชินราชใบเสมา พ.ศ. ๒๕๑๑, เหรียญโภคทรัพย์ (ขวัญถุง) นเรศวร (อุดชนวนพระกริ่งนเรศวร ๐๗), เหรียญพระพุทธชินราช หลัง ในหลวง ทรงผนวช พ.ศ. ๒๕๑๗

อย่างไรก็ตามระหว่างวันที่ ๑๕-๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓ จ.พิษณุโลกได้จัด งาน ๔๐๐ ปี แห่งการสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หนึ่งในกิจกรรมครั้งนี้ คือ นิทรรศการสุดยอดพระเครื่อง เมืองพิษณุโลก ถิ่นพระราชสมภพ เป็นครั้งแรกที่ชาวพิษณุโลก ชมรมพระเครื่องพุทธชินราชพิษณุโลกร่วมใจกัน นำพระเครื่องที่บรรจุกรุตามพระอารามของเมืองพิษณุโลกกว่า ๒๑ กรุ ณ พระราชวังจันทน์ จ.พิษณุโลก

No comments: